จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

 ชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซีย

เกบาย่า (Kebaya) เป็นชุดประจำชาติของประเทศอินโดนีเซียสำหรับผู้หญิง มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาว ผ่าหน้า กลัดกระดุม ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะเป็นผ้าถุงแบบบาติก ส่วนการแต่งกายของผู้ชายมักจะสวมใส่เสื้อแบบบาติกและนุ่งกางเกงขายาวหรือเตลุก เบสคาพ (Teluk Beskap) ซึ่งเป็นการแต่งกายแบบผสมผสานระหว่างเสื้อคลุมสั้นแบบชวาและโสร่ง และนุ่งโสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด
เกบาย่า - ประเทศอินโดนิเซีย
เตลุก เบสคาพ - ประเทศอินโดนิเซีย

. ชุดประจำชาติของประเทศกัมพูชา


วีดีโอการแต่งกายประเทศอาเชียน


วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

7. ชุดประจำชาติฟิลิปิน




          ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขายาวและสวมเสื้อที่เรียกว่า บารอง ตากาล็อก (barong Tagalog) ซึ่งตัดเย็บด้วยผ้าใยสัปปะรด มีบ่า คอตั้ง แขนยาว ที่ปลายแขนเสื้อที่ข้อมือจะปักลวดลาย ส่วนผู้หญิงนุ่งกระโปรงยาว ใส่เสื้อสีครีมแขนสั้นจับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวัก 

6. ชุดประจำชาติไทย




  สำหรับชุดประจำชาติอย่างเป็นทางการของไทย รู้จักกันในนามว่า "ชุดไทยพระราชนิยม" โดยชุดประจำชาติสำหรับสุภาพบุรุษ จะเรียกว่า "เสื้อพระราชทาน"

          สำหรับสุภาพสตรีจะเป็นชุดไทยที่ประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว ซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหากก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควร ความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรงของผู้ที่สวม ใช้เครื่องประดับได้งดงามสมโอกาสในเวลาค่ำคืน

โดยชุดไทยพระราชนิยม แบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้

1. ชุดไทยเรือนต้น


2. ชุดไทยจิตรลดา

3. ชุดไทยอมรินทร์

4. ชุดไทยบรมพิมาน

5. ชุดไทยจักรี

6. ชุดไทยจักรพรรดิ

7. ชุดไทยดุสิต

8. ชุดไทยศิวาลัย

5. ชุดประจำชาติของประเทศลาว

การแต่งกายชาวเอเซีย

ราชอาณาจักรลาว 
เป็นประเทศที่อยู่ชิดชายแดนไทยทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือทางจังหวัดหนองคาย ข้ามแม่น้ำโขงไปอีกฟากหนึ่งก็จะถึงเมืองเวียงจันทร์ นอกจากชนชาติลาวซึ่งบางครั้งเรียกว่าลัวะ หรือละว้า ยังมีชนเผ่าต่าง ๆ อีก ได้แก่

1. กลุ่มชนเผ่าไท-ลาว คือพวกไทแดง ไทขาว ไทดำ ย้อ ลื้อ
2. กลุ่มม้ง-เย้า
3. กลุ่มพม่า-ธิเบต รวมถึงมูเซอ ล่าฮู
4. กลุ่มมอญ-เขมร รวมถึงขมุ

การทอผ้าของกลุ่มชาวไท-ลาว ใช้เทคนิคการทอ 6 วิธี ได้แก่
  • มัดหมี่ หรือ IKAI (อีขัด)
  • จก หรือ เทคนิค การเพิ่มด้ายเส้นพุ่งพิเศษเป็นช่วง ๆ ไม่ติดต่อกันตลอดหน้าผ้า
  • ชิด หรือเทคนิคการเพิ่มด้วยเส้นพุ่งพิเศษติดต่อกันตลอดหน้าผ้า
  • เหยียบเกาะ หรือเทคนิคการทอแบบใช้เส้นด้ายหลายสีเกี่ยวหรือผูกเป็นห่วง (เป็นเทคนิคการทอของชาวไทลือ้)
  • ตามุก หรือเทคนิคการเพิ่มด้ายเส้นยืนพิเศษ
  • หมากไม หรือเทคนิคการปั่นด้ายเส้นพุ่ง 2 สีเข้าด้วยกัน
ผ้าทอมีบทบาทสำคัญในชีวิตครอบครัวของชาวไท-ลาว ทุกวันนี้พิธีแต่งงานแบบดั้งเดิมของ คนไท-ลาวยังคงใช้เครื่องแต่งกายที่งดงาม ประณีต ชุดเจ้าสาวทอด้วยไหมเส้นละเอียด สอดแทรก ด้วยเส้นเงินเส้นทอง ผ้าเบี่ยง ซิ่นและตีนซิ่น จะมีสีและลวดลายรับกัน เจ้าบ่าวนุ่งผ้านุ่งหรือผ้า เตี่ยวทอด้วยไหมละเอียดสีพื้น อาจะใช้เทคนิคการทอแบบ “หมากไม” คือการปั่นเส้นใย สวมเสื้อ แบบฝรั่ง มีผ้าพาดบ่าเพื่อเข้าพิธีสู่ขวัญ

การแต่งกาย 
ผู้หญิง นุ่ง Patoi (มีลักษณะคล้ายผ้านุ่งของไทย) นิยมทำเป็นลายทาง ๆ เชิงผ้าเป็น สีแดงแก่ หรือน้ำตาลเข้ม ถ้าผ้านุ่งเป็นไหม เชิงก็จะเป็นไหมด้วย มักจะทอทองและเงินแทรกเข้าไป ไว้ผมเกล้ามวยประดับดอกไม้

ผู้ชาย นุ่ง Patoi เป็นการนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชิ้น นอก กระดุมเจ็ดเม็ด
การแต่งกายของชาวลาว
          ผู้หญิงลาวนุ่งผ้าซิ่น และใส่เสื้อแขนยาวทรงกระบอก สำหรับผู้ชายมักแต่งกายแบบสากล หรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุมเจ็ดเม็ด คล้ายเสื้อพระราชทานของไทย


ประเทศลาว

4. ชุดประจำชาติของประเทศบรูไน


          ชุดประจำชาติของบรูไนคล้ายกับชุดประจำชาติของผู้ชายประเทศมาเลเซีย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) แต่ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใส โดยมากมักจะเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่ง เป็นการสะท้อนวัฒนธรรมสังคมแบบอนุรักษ์นิยม เพราะบรูไนเป็นประเทศมุสสิม จึงต้องแต่งกายมิดชิดและสุภาพเรียบร้อย

พาไปชม 10 ชุดประจำชาติอาเซียน
บาจู มลายู และบาจูกุรุง - ประเทศบรูไนการแต่งกายประจำชาติ บรูไน (Brunei)

ชาย สวมเสื้อแขนยาว คอปิด กระดุมผ่าหน้าถึงหน้าอก สวมหมวกหรือมีผ้าพันศีรษะ กางเกงขายาว โดยให้สีเสื้อและกางเกงเป็นสีเดียวกัน มีผ้าพันรอบเอว เป็นผ้ายกดิ้นหรือผ้าพื้น โดยนุ่งพับมาด้านหน้าทั้งสองพับ
 
ชุดแต่งการชายบรูไน
 
 

หญิง สวมเสื้อแขนยาว อกเสื้อผ่าหน้า ความยาวของตัวเสื้อคลุมสะโพกลงไป สวมผ้าคลุมศีรษะอย่างสตรีชาวมุสลิมทั่วไป กระโปรงยาวมิดชิด เครื่องประดับก็จะมีมงกุฎเพื่อเพิ่มความสวยงามอีกได้

 
ชุดแต่งการสาวบรูไน
 
 

ชุดแต่งงานของสาวบรูไน (Brunei)
 
 
 

 
 

3. ชุดประจำชาติของประเทศพม่า


          ชุดประจำชาติของชาวพม่าเรียกว่า ลองยี (Longyi) เป็นผ้าโสร่งที่นุ่งทั้งผู้ชายและผู้หญิง ในวาระพิเศษต่าง ๆ ผู้ชายจะใส่เสื้อเชิ้ตคอปกจีนแมนดารินและเสื้อคลุมไม่มีปก บางครั้งจะใส่ผ้าโพกศีรษะที่เรียกว่า กอง บอง (Guang Baung) ด้วย ส่วนผู้หญิงพม่าจะใส่เสื้อติดกระดุมหน้าเรียกว่า ยินซี (Yinzi) หรือเสื้อติดกระดุมข้างเรียกว่า ยินบอน (Yinbon) และใส่ผ้าคลุมไหล่ทับ
พาไปชม 10 ชุดประจำชาติอาเซียน
พาไปชม 10 ชุดประจำชาติอาเซียน
ลองยี - ปรเทศพม่า

การแต่งกายชาวเอเซีย

สหภาพพม่า 
พม่า เป็นชาติที่ไทยเรารู้จักกันมานาน ปัจจุบันพม่ามีการปกครองแบบสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยจึงเรียกว่า “สหภาพพม่า” พม่ามีอาณาเขตใกล้เคียงกับไทย และสามารถ ติดต่อกันได้ทั้งทางบก น้ำและอากาศ สหภาพพม่ามีประชากรเป็นชนเชื้อชาติต่าง ๆ หลายเผ่า และเคยตกเป็นเมืองขึ้น ของอังกฤษ แต่วัฒนธรรมทางด้านศิลปะ ศาสนา และเครื่องแต่งกายก็ยัง มิได้เปลี่ยนแปลงไป

การแต่งกาย เครื่องแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง ที่เรียกว่า “ลองยี” (Longeje) ซึ่งมีทั้งผ้าฝ้ายและไหมที่มีสีสด ของผู้หญิงจะมีลายเชิงด้านล่างและมีลวดลายเล็ก ๆ กระจายทั่ว ผืนผ้า ลวดลายของแต่ละท้องถิ่นจะต่างกัน ผ้าที่ทอมาจากเมืองอมรปุระเป็นลวดลายดอกไม้ เครือไม้ หรือเป็นดอกเป็นลายตามขวาง ไม่นิยมใช้เข็มขัด สวมเสื้อตัวสั้น คอกลม ผ่าอกติดกระดุม 5 เม็ด แขนกระบอกยาวจรดข้อมือ บางครั้งเป็นแขนสั้น เลยไหล่ลงมาเล็กน้อย ผ้าตัดเสื้อนิยมใช้ ผ้าเนื้อบาง สีสด เช่น ผ้ามัสลิน ผ้าป่าน หรือผ้าไนลอน สวมรองเท้าคีบรองเท้าแตะ ทั้งหญิง ชาย แต่ของหญิงจะเป็นสี มีลวดลายเป็นดอกดวง ปักด้วยลูกปัด หรือดิ้น เงินดิ้น ทอง สะพายย่าม ซึ่งเป็นผ้าไหมสีสวยสดทอมาจากรัฐฉาน

ผม โดยทั่วไปไว้ผมยาวเกล้าสูง บางทีก็ปล่อยชายห้อยลงมาไว้ทางซ้ายบ้างขวางบ้าง มีดอกไม้แซมผม เครื่องประดับ นิยมหิน และพลอยที่มีค่าเช่น ทับทิม นิล และหยก

ชาย 
เครื่องแต่งกาย นุ่งโสร่งเช่นเดียวกับหญิงแต่สีไม่ฉูดฉาด เป็นลายตาราง โตบ้าง เล็กบ้าง หรือเป็นลายทางยาวบ้าง โดยทั่วไปใส่เสื้อขาว เมื่อมีพิธีจะสวมเสื้อคล้ายเสื้อจีนแขนยาว ถึงข้อมือ แบบหนึ่ง เรียกว่า “กุยตั๋ง” เป็นเสื้อชายสั้น ๆ ติดดุมถักแบบจีนป้ายมาข้าง ๆ อีกแบบเรียกว่า “กุยเฮง” ตัวยาวถึงสะโพก และติดกระดุมตั้งแต่คอตรงมาจดชายเสื้อใช้สีสุภาพ เช่น ขาวดำ หรือ นวล ถ้าอากาศหนาวจะสวมเสื้อกัก ทอสักหลาดทับอีกชิ้น หนึ่ง จะสวมรองเท้าหุ้มส้นเมื่อมีพิธี

ผม ตัดผมสั้น ไม่นิยมสวมหมวก หรือโพกศีรษะตามประเพณีเดิม เมื่อมีพิธีจะมีผ้าหรือ แพรโพกศีรษะทำเป็นกระจุกปล่อยชายทิ้งไว้ทางด้านขวา นิยมใช้สีชมพู

ชาวพม่านิยมผลิตผ้าทอมือ แต่จะมีชาวเผ่าหนึ่งคือ พวก Yabeins แปลว่า ผู้ปลูกไหม ได้ ทอผ้าไหมที่มีลวดลายวิจิตรบรรจง เรียกว่า ผ้าตราหมากรุก (Check) นิยมทำกระโปรงแต่งงาน และเครื่องแต่งกายในพิธี ผ้าชนิดนี้จะมีเนื้อแน่น แข็งมาก ก่อนใช้ต้องนำไปแช่น้ำและทุบเสียก่อน เพื่อให้ผ้าเนื้อนิ่ม สีจะสวย ทนทาน นิยมใช้เป็นลองยีของสตรี ชาวพม่าได้เลียนแบบผ้าซิ่นผ้าไหมจากบางกอก เรียกว่า Bangkok lungis จะทอด้วยเส้น ไหมควบ นิยมทำสีอมเทา สีเหลืองอำพัน และสีเขียวทึม ๆ เป็นที่นิยมของสตรีพม่ามาก
การแต่งกายของชาวพม่า

2. ชุดประจำชาติของประเทศเวียดนาม





          อ่าวหญ่าย (Ao dai) เป็นชุดประจำชาติของประเทศเวียดนามที่ประกอบไปด้วยชุดผ้าไหมที่พอดีตัวสวมทับกางเกงขายาวซึ่งเป็นชุดที่มักสวมใส่ในงานแต่งงานและพิธีการสำคัญของประเทศ มีลักษณะคล้ายชุดกี่เพ้าของจีน ในปัจจุบันเป็นชุดที่ได้รับความนิยมจากผู้หญิงเวียดนาม ส่วนผู้ชายเวียดนามจะสวมใส่ชุดอ่าวหญ่ายในพิธีแต่งงาน หรือพิธีศพ

พาไปชม 10 ชุดประจำชาติอาเซียน

อ่าวหญ่าย - ประเทศเวียดนาม



เวียดนาม 
ตามข้อตกลงของการประชุมการสงบศึกษาในอินโดจีนที่กรุงเจนิวา เมื่อ พ.ศ. 2499 ได้ แบ่งเวียดนามออกเป็น 2 ส่วน คือ
  1. เวียดนามเหนือ อยู่ที่เมืองเว้ ปกครองระบบคอมมูนิสต์
  2. เวียดนามใต้ มีเมืองไซ่ง่อนเป็นเมืองหลวง ปกครองระบบประชาธิปไตยมีประธานาธิบดี เป็นประมุข
ชาวเมืองไซ่ง่อนได้รับประเพณีต่าง ๆ มาจากแต่ครั้งฝรั่งเศสปกครอง เช่น การหยุดพักนอน กลางวันในวันทำงาน การก้มศีรษะและโค้งตัวเวลาพบปะกันจับมือกัน ที่เหมือนไทยคือ ยังคง รับประทานหมากให้ฟันดำ แต่ปัจจุบันเลิกแล้ว

การแต่งกาย 
ผู้หญิง นุ่งกางเกงแพรยาว สวมเสื้อแขนยาว คอตั้งสูง ตัวเสื้อยาวลงมาจรดข้อเท้า ผ่า 2 ข้าง สูงแค่เอว พวกทำงานหนักจะสวมเสื้อสั้น มีกระเป๋า 2 ใบ แขนจีบยาว บางแห่งทางเหนือสวมกระโปรงยาวถึงข้อเท้า

ผม ยาวเกล้ามวย สวมงอบสานด้วยใบลานทรงรูปฝาชี หรือใช้ผ้าสามเหลี่ยมคลุมศีรษะ ดึงชาย 2 ข้างมาผูกใต้คาง ถ้าเป็นทางเหนือแถวฮานอย ใช้ผ้าดำแถบยาวหุ้มผมซึ่งถักเปียไว้ให้มิด แล้วโอบพันศีรษะ ปัจจุบันนิยมตัดผมสั้น และดัดผมมากขึ้น สวมรองเท้าเกียะส้นสูง พ่นสีต่าง ๆ รองเท้าสตรีส้นรองด้วยพื้น ยาง คาดหลังด้วยหนังหรือพลาสติกสีต่าง ๆ

ชาย แต่งกายคล้ายหญิง บางครั้งสวมเสื้อกุยเฮง สวมหมวกสีดำเย็บด้วยผ้า ไม่มีปีก ปัจจุบันแต่งสากลกันมากแล้ว
ในเวียดนามใต้มีชาวเขาเผ่าหนึ่งเรียกว่า พวกม้อย จะนุ่งผ้าสั้น ๆ ปกปิดร่างกายแต่เฉพาะ ท่อนล่างคล้ายนุ่งใบไม้ ปัจจุบันหญิงสวมเสื้อ นิยมเจาะหูสอดไม้ซึ่งเหลาแหลม ๆ สวมกำไลคอ

จากประวัติความเป็นมาจะเห็นว่าชาวเวียดนามมีการแต่งกายผสมผสานกันมีทั้งไทยมุง หรือ อ้ายลาวระยะแรก ปนของจีนบ้าง เช่น ลักษณะของเสื้อที่ป้ายซ้อนกันบริเวณอก คอปิด แขน ยาว แต่แตกต่างจากไทยและจีนตรงที่การใช้ผ้า ถึงแม้ว่าจะใส่กางเกงแล้ว ยังนิยมสวมเสื้อผ้าบาง ที่เปิดจนถึงเอวทั้ง 2 ข้าง ให้เห็นรูปทรงและสัดส่วนที่งดงาม ชาวเวียดนาม ได้ชื่อว่า เป็นชาติมี ผิวพรรณงามที่สุดในโลกอีกด้วย

ชนเผ่าไทในเวียดนามจะมีการทอผ้าออกมางดงามมาก ซึ่งจะมีลวดลายบนผืนผ้าทอที่ แตกต่างกันออกไป ซึ่งแต่ละลายนั้น มีความหมายและมีเทคนิคการทอที่แตกต่างกันอย่าง เช่น ลาย ดาวแปดแฉก จะเป็นลายดาวแปดแฉกตรงกลางของผ้า หรือในผ้าเปียว (ผ้าโพกศีรษะ) และยังมี ลายเส้นจุด (ลายคลื่น) ลายฟันเลื่อย (ลายหยักหงอนไก่) ลายขอ (ลายกูด) ลายเหรียญ (ลายจำ หลอด) ลายรูปหัวใจ (ลายหมากจุ้ม) เป็นต้น ลวดลายต่าง ๆ เหล่านี้นอกจากจะปรากฏอยู่บนผืน ผ้าแล้วยังปรากฏในเครื่องปั้นดินเผา และกลองสำริดด้วย
การแต่งกายของชาวเวียดนาม



 


1. ชุดประจำชาติของประเทศมาเลเซีย

  สำหรับชุดประจำชาติมาเลเซียของผู้ชาย เรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแขนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย หรือโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของผ้าฝ้าย ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจูกุรุง (Baju Kurung) ประกอบด้วยเสื้อคลุมแขนยาว และกระโปรงยาว
พาไปชม 10 ชุดประจำชาติอาเซียน
บาจู มลายู - ประเทศมาเลเซีย

พาไปชม 10 ชุดประจำชาติอาเซียน
บาจูกุรุง - ประเทศมาเลเซีย